วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สื่อการสอนระดับอนุบาลค่ะ

  สวัสดีค่ะวันนี้ขอเก็บเกี่ยวความรู้ดีๆมาฝาก  นั่นก็คือ CAI ค่ะ ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กๆของเรามีพัฒนาการดีขึ้น และประหยัดเวลาในการสอน มาวันนี้พี่แตนจะให้ลิงก์ สื่อการสอนของระดับอนุบาลนะค่ะ ทำไมต้องอนุบาล เพราะว่า ดิฉันรักเด็กค่า~ ฮาๆๆๆ (นางสาวไทยชัดๆ) นอกเรื่องกันมามากแล้วเรามาดูลิงก์ต่อไปนี้ดีกว่าค่ะ จะเริ่มล่ะน่ะ เอาน่ะ พร้อมยังค่ะ ไปเหอะ...


1. KARN.TV สือต่างๆที่เกี่ยวกับอนุบาลค่ะ

2. รวมสื่อการสอนสำหรับเด็กอนุบาล (ของคุณพี่ nudeeka  ขอบคุณมากน่ะค่ะ )

3. ครูอนุบาล ( kroojho  )

4.ก้าวทุกวินาที่

5. สื่อการสอน สำหรับเด็กวัยอนุบาล-ประถมศึกษา ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็วและเข้าใจง่ายขึ้น

6. ห้องสืออนุบาล

7. สื่ออนุบาล

8. แนะนำหนังสือและสื่อ

9. ครูอนุบาล

10. สื่อการเรียนรู้ (โรงเรียนอนุบาลราชบุรี)

11. ลูกอึ่งอ่างกับเเม่

12.นิทานEQ

13. นิทานสำหรับเด็ก

14. นิทานYoutube(แปลกหน่อย)

15. คณิตคิดเร็ว(มาก)

16.หนูจิ้ว

17. นิทานสวยๆฝีมือนักศึกษา(น่ารักมากๆ)

18. ขายของจ้า~

19. วิชาภาษาอังกฤษจ้า~

20. ชุมชนปฐมวัย

จบแล้วค่ะ สำหรับวันนี้ก็ให้ชมลิงก์ สื่อต่างๆเกี่ยวกันอนุบาลแค่นี้ก่อนน่ะค่ะ วันหน้าเจอกันใหม่น่ะค่ะ
รักทุกคนค่า~

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

CAIคือ

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคืออะไร
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากคำว่า CAI (Computer Assisted Instruction) หมายถึงวิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วย บทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นเครื่องมือช่วยส่วนอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนจะตอบคำถาม ทางแป้นพิมพ์แสดงออกมาทางจอภาพ มีทั้งรูปภาพและตัวหนังสือหรือบางทีอาจใช้ร่วมกันกับ อุปกรณ์อย่างอื่นด้วย เช่น สไลด์ เทปวิดีทัศน์ เป็นต้น
2. ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นตอน ดังนี้
2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน จะเริ่มตั้งแต่การทักทายผู้เรียน บอกวิธีการเรียน และบอกจุดประสงค์ของการเรียน เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้ทราบว่า เมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้วเขาจะสามารถทำอะไรได้บ้าง คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถเสนอวิธีการในรูปแบบที่น่าสนใจได้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหว เสียงหรือผสมผสานหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน ให้มุ่งความสนใจเข้าสู่บทเรียนบางโปรแกรมอาจจะมีแบบทดสอบวัดความพร้อมของผู้เรียนก่อน หรือมีรายการ เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจ และผู้เรียนสามารถจัดลำดับรายการเรียนก่อนหลังได้ด้วยตนเอง

2.2 ขั้นการเสนอเนื้อหา เมื่อผู้เรียนเลือกเรียนในเรื่องใดแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเสนอเนื้อหาออกมาเป็นกรอบ ๆ ในรูปแบบที่เป็น ตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพกราฟิก และภาพเคลื่อนไหว เพื่อเร้าความสนใจในการเรียน และสร้างความเข้าใจในความคิดรวบยอดต่าง ๆ แต่ละกรอบ หรือเสนอเนื้อหาเรียงลำดับไปทีละอย่างทีละประเด็น โดยเริ่มจากง่ายไปหายาก ผู้เรียนจะควบคุมความเร็วในการเรียนด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้ได้เรียนรู้มากที่สุด ตามความสามารถ และมีการชี้แนะหรือการจัดเนื้อหาสำหรับการช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนที่ดีขึ้น

2.3 ขั้นคำถามและคำตอบ หลังจากเสนอเนื้อหาของบทเรียนไปแล้ว เพื่อที่จะวัดผู้เรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาแล้วเพียงใดก็จะมีการทบทวนโดยการให้ทำแบบฝึกหัด และช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ เช่น ให้ทำแบบฝึกหัดชนิดคำถาม แบบเลือกตอบ แบบถูกผิด แบบจับคู่ และแบบเติมคำ เป็นต้น ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถเสนอแบบฝึกหัดแก่ผู้เรียนได้น่าสนใจมากกว่าแบบทดสอบธรรมดา และผู้เรียนตอบคำถามผ่านทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถจับเวลาในการตอบคำถามของผู้เรียนได้ด้วย ถ้าผู้เรียนไม่สามารถตอบคำถามได้ในเวลาที่กำหนดไว้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเสนอความช่วยเหลือให้

2.4 ขั้นการตรวจคำตอบ เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับคำตอบจากผู้เรียนแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะตรวจคำตอบและแจ้งผลให้ผู้เรียนได้ทราบ การแจ้งอาจแจ้งเป็นแบบข้อความ กราฟิกหรือเสียง ถ้าผู้เรียนตอบถูกก็จะได้รับการเสริมแรง